พระราชพิธีทรงพระผนวชพุทธศักราช
๒๔๙๙*
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาแต่โบราณกาล
พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ
และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
ตามประเพณีนิยมของชาวไทย
เมื่อชายไทยอายุครบกำหนดบวช
ก็มักจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา
เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย
และอบรมบ่มนิสัยให้เป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรมอันดี
ตลอดจนได้รับการถ่ายทอดการฝึกกิริยามารยาท
และระเบียบพิธีกรรมต่างๆ
ทั้งยังถือว่าเป็นการสนองพระคุณบุรพการี
มีบิดามารดา
เป็นต้น
ดังนั้นจึงปรากฏหลักฐานว่า
พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ก่อนครองราชสมบัติ
ทรงพระผนวชตั้งแต่พระชนมายุครบ
๒๐ พรรษา
แต่ที่ทรงพระผนวชเมื่อทรงดำรงสิริราชสมบัติแล้วมีเพียง
๔ พระองค์ คือ
พญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ด้วยเหตุนี้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวชเมื่อพุทธศักราช
๒๔๙๙
จึงเป็นที่ปลื้มปิติยินดีแก่บรรดาพุทธศาสนิกชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีพระราชประสงค์ที่จะได้ทรงพระผนวชในพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานแล้ว
เพราะทรงพระราชดำริว่า
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติที่ประชาชนส่วนใหญ่ของพระองค์เลื่อมใส
ต่อมาเมื่อทรงมีโอกาสคุ้นเคยกับหลักการและแนวทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน
ก็มีพระราชศรัทธายิ่งขึ้น
เพราะได้ทรงประจักษ์แก่พระราชหฤทัยว่า
พระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกอบด้วยเหตุผลและสัจธรรม
ต่อมา
ระหว่างศก
๒๔๙๙ นี้
สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์
สมเด็จพระสังฆราช
ผู้ที่พระองค์ทรงนิยมนับถือโดยวิสาสะอันสนิท
และทรงถือว่ามีคุณูปการต่อพระองค์มามากนั้น
ได้ประชวรลง
พระอาการเป็นที่น่าวิตกจนแทบไม่มีหวัง
แต่เดชะบุญ
หายประชวรมาได้อย่างน่าประหลาด
จึงทรงพระราชดำริว่า
ถ้าได้ทรงพระผนวชโดยสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว
จะเป็นที่สมพระราชประสงค์ในอันที่จะทรงแสดงพระราชคารวะและพระราชศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างดี
จึงได้ตกลงพระราชหฤทัยที่จะทรงพระผนวชเพื่ออุทิศพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณภายในศกนี้
จากนั้น
มีพระราชดำรัสให้นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ทรงแจ้งพระราชประสงค์ให้ราบเป็นการหารือ
นายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลแสดงความโสมนัส
ขอรับพระราชภาระในการนี้ในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทย
พร้อมทั้งอัญเชิญกระแสพระราชดำริไปหารือกับสมาชิกรัฐสภา
เพื่อที่จะทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ
ให้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างทรงพระผนวช
วันที่
๑๘ ตุลาคม
พุทธศักราช
๒๔๙๙
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เชิญเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์
ข้าละอองธุลีพระบาท
และคณะทูตานุทูตมาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ณ
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูริยพิมานเป็นมหาสมาคม
เพื่อทรงแถลงพระราชดำริในการที่จะเสด็จออกทรงพระผนวช
เช่นเดียวกับที่สามัญชนบอกลาบวชแก่ผู้ที่เคารพนับถือและผู้ที่คุ้นเคย
จากนั้น
ได้เสด็จสู่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท
เพื่อทรงแถลงพระราชดำริแก่ประชาชนไทย
วันที่
๒๒ ตุลาคม
พุทธศักราช
๒๔๙๙
เป็นวันพระราชพิธีทรงพระผนวช
ณ พระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในพระบรมมหาราชวัง
มีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์
สมเด็จพระสังฆราช
ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์
สมเด็จพระวนรัตน์
(ปลด
กิตฺติโสภโณ)
วัดเบญจมบพิตร
เป็นพระอนุศาสนาจารย์
และพระศาสนโสภณ
(จวน อุฎฺฐายี)
วัดมกุฏกษัตริยาราม
เป็นพระกรรมวาจาจารย์
มีพระสงฆ์นั่งหัตถบาส
รวม ๓๐ รูป
ทรงได้รับพระสมณฉายาว่า
"ภูมิพโล"
เมื่อเสร็จพระราชพิธีทรงพระผนวชในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงพระผนวช
อันขานพระนามตามหมายของสำนักพระราชวังว่า
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่พระพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวัง
ทรงประกอบพระราชพิธีตามราชประเพณีครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช
มีพระเถระฝ่ายธรรมยุตนั่งหัตถบาส
๑๕ รูป
เมื่อเสด็จพระราชพิธีแล้ว
จึงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระสังฆราช
พระราชอุปัธยาจารย์
สู่วัดบวรนิเวศวิหาร
ประทับ ณ
พระตำหนักทรงพรตเป็นเวลา
๑๕ วัน
ในวันนี้
ประชาชนชาวไทยจำนวนมากมายประมาณมิได้
ได้พากันมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทตามเส้นทางที่เสด็จพระราชดำเนินทั้งเส้นทางมาพระบรมมหาราชวัง
และเส้นทางไปสู่วัดบวรนิเวศวิหาร
ทุกคนได้แสดงออกซึ่งความปิติโสมนัสอนุโมทนาชื่นชมในพระบุญญาธิการอย่างเห็นได้ชัดเจน
อ่านต่อ>>